วันจันทร์ที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2559

แผนที่ประเทศกัมพูชา

เมืองหลวงประเทศกัมพูชา

 พนมเปญ 
เมืองหลวงของประเทศกัมพูชา ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำโขง มีพื้นที่ 678 ตารางกิโลเมตร มีประชากรราว 2,250,000 ล้านคน นับว่ามากที่สุดในกัมพูชา และเป็นแหล่งเศรษฐกิจที่สำคัญที่สุดของประเทศอีกด้วย
สำหรับประวัติกรุงพนมเปญ ก่อตั้งเมื่อปี ค.ศ. 1372 (พ.ศ. 1915) และเป็นเมืองหลวงของกัมพูชา ก่อนที่จะย้ายเมืองไปย้ายเมืองมา เนื่องจากถูกรุกรานจากอาณาจักรกรุงศรีอยุธยาและเวียดนามสลับกันโจมตี กระทั่งกัมพูชาเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศส ทำให้ ค.ศ. 1865(พ.ศ. 2408) ในยุคของพระเจ้านโรดมที่ 1 กรุงพนมเปญจึงถูกตั้งเป็นเมืองหลวงอีกครั้ง

พื้นที่ประเทศกัมพูชา

ที่ตั้ง : กัมพูชาตั้งอยู่กลาง ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีพรมแดนทิศเหนือติดกับประเทศไทย (จังหวัดอุบลราชธานี ศรีสะเกษ สุรินทร์ และบุรีรัมย์) และลาว (แขวง อัตตะปือและจำปาสัก) ทิศตะวันออกติด
เวียดนาม (จังหวัดกอนทูม เปลกู ซาลาย ดั๊กลั๊ก ส่องแบ๋ เตยนิน ลองอาน ด่งท๊าบ อันซาง และเกียงซาง) ทิศตะวันตกติดประเทศไทย (จังหวัดสระแก้ว จันทบุรี และตราด) และทิศใต้ติดอ่าวไทย



พื้นที่ : ขนาดกว้าง 500 กิโลเมตร ยาว 450 กิโลเมตร มีพื้นที่ทั้งหมด 181,035 ตารางกิโลเมตร หรือมีขนาดประมาณ 1 ใน 3 ของประเทศไทย เส้นเขตแดนโดยรอบประเทศยาวประมาณ 2,000 กิโลเมตร โดยมีเส้นเขตแดนติดต่อกับประเทศไทยยาว 798 กิโลเมตร
ภูมิประเทศ : ส่วนใหญ่เป็นที่ราบ ประกอบด้วยที่ราบรอบทะเลสาบเขมร และที่ราบลุ่มแม่น้ำโขง
มีทิวเขาล้อมรอบทางเหนือ คือ เทือกเขาพนมดงรัก เทือกเขาบรรทัด เทือกเขาอันนัม กัมพูชา มีลักษณะภูมิประเทศคล้ายชามหรืออ่าง คือ ตรงกลางเป็นแอ่งทะเลสาบและลุ่มแม่น้ำโขงอันกว้างขวาง มีภูเขาล้อมรอบอยู่ 3 ด้าน ได้แก่
ด้านตะวันออกมีแนวเทือกเขาอันนัมที่เป็นพรมแดนกับประเทศเวียดนาม
ด้านเหนือและตะวันตกเฉียงเหนือมีแนวเทือกเขาพนมดงรักที่เป็นพรมแดนกับประเทศไทย
ด้านใต้และตะวันตกใต้มีแนวเทือกเขาบรรทัดที่เป็นแนวพรมแดนกับประเทศไทย เฉพาะด้านตะวันออกเฉียงใต้เท่านั้นที่เป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำโขง
ภูเขา : ยอดเขาสูงที่สุดของกัมพูชาคือ พนมอาออรัล สูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง 1,813 เมตรทิศเหนือของกัมพูชามีเขตแดนติดกับประเทศไทยระยะทางยาว 750 กิโลเมตร ติดกับจังหวัดอุบลราชธานี ศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์ สระแก้ว จันทบุรี ตราด โดยมีเทือกเขาพนมดงรัก และเทือกเขาบรรทัดกั้น
ภูมิอากาศ : มีอากาศมรสุมเขตร้อนเป็นแบบร้อนชื้นแถบมรสุม ฤดูฝนเริ่มจากเดือนพฤษภาคม-ตุลาคม ฤดูแล้ง เริ่มจากเดือนพฤศจิกายน-เมษายน เดือนเมษามีอุณหภูมิสูงที่สุด เดือนมกรามีอุณหภูมิต่ำที่สุด เดือนตุลาคมมีฝนตกมากที่สุด          

ประชากรประเทศกัมพูชา

ลักษณะประชากรกัมพูชา โดย สำนักงาน ก.พ. 
ปัจจุบันประเทศกัมพุูชามีประชากรถึง 14.4 ล้านคน ประกอบไปด้วยชนหลายเชื้อชาติ ซึ่งแยกออกได้เป็น เชื้อสายกัมพุูชา ร้อยละ 96 มุสลิม ร้อยละ 2.2 เวียดนาม ร้อยละ 0.49 จีน ร้อยละ 0.2 ที่เหลือเป็นชน กลุ่มน้อยหรือชาวเขา รวม 17 เผ่า 
ส่วนในด้านศาสนา มีผู้นับถือศาสนาพุทธเถรวาท ร้อยละ 95 นับถือ ศาสนาอิสลาม ร้อยละ 3 นับถือศาสนาคริสต์ ร้อยละ 1.7 นับถือศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ร้อยละ 0.3
ทั้งนี้โครงสร้างหลักของชาวกัมพูชา คือ ภาคเกษตรกรรมประมาณร้อยละ 70 ภาคบริการประมาณร้อยละ 17 ภาคอุตสาหกรรมโรงงานประมาณร้อยละ 8 และภาคการก่อสร้างประมาณร้อยละ 5 ชาวกัมพูชาประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นอาชีพหลัก 

ระบบการปกครองประเทศกัมพูชา

กัมพูชามีการปกครองระบอบประชาธิปไตยโดยมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขภายใต้รัฐธรรมนูญพระมหากษัตริย์องค์ปัจจุบันคือพระบาทสมเด็จพระบรมนาถนโรดม สีหมุนี ขึ้นครองราชย์เมื่อวันที่14 ตุลาคม 2547และมีนายกรัฐมนตรีเป็นผู้นำประเทศคือ สมเด็จฮุน เซน โดยดำรงตำแหน่งวาระละ 5 ปี
พรรคการเมืองสำคัญมี3พรรคได้แก่ พรรคประชาชนกัมพูชา(Cambodian People’s Party: CPP) หัวหน้าพรรคคือสมเด็จเจีย ซิม รองหัวหน้าพรรคคือสมเด็จฮุน เซน พรรคฟุนซินเปค(National United Front for an Independent,Neutral,Peaceful and Cooperative Cambodia: FUNCINPEC) หัวหน้าพรรคคือ นายเชียว พุธ รัศมี และพรรคสม รังสี (Sam Rainsy Party: SRP) หัวหน้าพรรคคือนายสม รังสี ทั้งนี้พรรคประชาชนกัมพูชา(Cambodian People’s Party : CPP) สามารถจัดตั้งรัฐบาลได้พรรคเดียวทำให้สมเด็จฮุน เซน เป็นนายกรัฐมนตรีต่อไปอีกสมัย
รัฐสภาของกัมพูชาเป็นสภาคู่ประกอบด้วย สภาผู้แทนราษฎร (National Assembly) ซึ่งรัฐธรรมนูญกำหนดให้มีสมาชิกจำนวนไม่น้อยกว่า120คนมาจากการเลือกตั้งทั่วไปโดยทางตรงและลับมีวาระ5ปีปัจจุบันมีสมาชิก123 คน และมีสมเด็จกรมพระนโรดม รณฤทธิ์เป็นประธาน กับ วุฒิสภา (Senate) ที่มีสมาชิกมากสุดไม่เกินกึ่งหนึ่งของสภาผู้แทนราษฎรมาจากการแต่งตั้งโดยพระมหากษัตริย์2คนเลือกจากพรรคการเมืองที่ได้เสียงข้างมากโดยเปรียบเทียบ 2 คนและที่เหลือมาจากการเลือกตั้งโดยทางอ้อมมีวาระ6ปี (ปัจจุบันมีสมาชิก 61 คน ) และมีสมเด็จ เจีย ซิม เป็นประธาน
กัมพูชาแบ่งเขตการปกครองเป็น 20 จังหวัด ได้แก่ 
(1) กระแจะ (2) เกาะกง 
(3) กันดาล (4) กัมปงจาม 
(5) กัมปงชนัง (6) กัมปงทม 
(7) กัมปงสะปือ (8) กัมปอต 
(9) ตาแก้ว (10) รัตนคีรี 
(11) พระวิหาร (12) พระตะบอง
(13) โพธิสัต (14) บันเตียเมียนเจย 
(15) เปรเวง (16) มณฑลคีรี 
(17) สตึงเตรง (18) สวายเรียง 
(19) เสียมเรียบ (20) อุดรมีชัย 
แต่ละจังหวัดแบ่งการปกครองเป็นอำเภอ (Srok) และตำบล (Khum) นอกจากนี้ มีเขตการปกครองพิเศษเรียกว่า กรุง (Municipalities) อีก4กรุง ได้แก่ กรุงพนมเปญ กรุงสีหนุวิลล์ (กัมปงโสม) กรุงแกบ และกรุงไพลิน 
ทั้งนี้ แต่ละจังหวัดหรือกรุง จะมีผู้ว่าราชการจังหวัดหรือกรุงกับรองผู้ว่าราชการจังหวัดอีก7– 9คน ซึ่งได้รับการแต่งตั้งตามวาระของรัฐบาล(5ปี)เป็นผู้ปกครองโดยจังหวัดจะแบ่งเขตการปกครองย่อยเป็นอำเภอและตำบล( เรียกเป็น “สะร๊อก” และ “คุ้ม”)ขณะที่กรุงจะแบ่งเขตการปกครองย่อยเรียกเป็น “คาน” และ “สังกัด” ทั้งนี้หมู่บ้านหนึ่งๆซึ่งเป็นชุมชนย่อยลงไปจะเรียกว่า“ภูมิ”

ภาษาราชการของประเทศกัมพูชา

ภาษาราชการของกัมพูชา คือ ภาษาเขมร อันเป็นภาษาที่จัดอยู่ในกลุ่มภาษามอญ-เขมร อันเป็นภาษากลุ่มย่อยของตระกูลภาษาออสโตรเอเชียติก นอกจากนี้ยังมีการใช้ภาษาฝรั่งเศสในกลุ่มชาวเขมรผู้สูงอายุ ซึ่งเป็นภาษาราชการหลักของอาณานิคมอินโดจีนของฝรั่งเศส ปัจจุบันภาษาฝรั่งเศสยังถูกจัดอยู่ในการเรียนการสอนในโรงเรียนบางแห่ง และบางมหาวิทยาลัยที่รัฐบาลฝรั่งเศสให้การสนับสนุน ซึ่งภาษาฝรั่งเศสได้ตกทอดจากยุคอาณานิคมมาถึงในยุคปัจจุบันและยังมีใช้ในรัฐบาลบางวาระโดยเฉพาะในศาล
ในอดีตปี พ.ศ. 2506 รัฐบาลกัมพูชาเคยประกาศห้ามมิให้บุคคลเชื้อสายไทยพูดภาษาไทย และห้ามมีหนังสือไทยไว้ในบ้าน หากเจ้าหน้าที่ค้นพบจะถูกทำลายให้สิ้นซากโดยเฉพาะหากพูดภาษาไทยจะถูกปรับคำละ 25 เรียลและเพิ่มขึ้นเป็น 50 เรียลในปีต่อมาเพื่อตอบโต้รัฐบาลไทยในคดีเขาพระวิหาร

เชื้อชาติประเทศกัมพูชา

ชื้อชาติ
- ชาวเขมร 85% 
- ชาวญวน 5% 
- ชาวจีน 5 %
- อื่นๆ เช่นชาวไทย ชาวลาว ชาวจาม ชาวจะราย ชาวระแดว์ ชาวเสตียง ชาวเมฺรญ และชาวเปือร์ 3% เป็นต้น