วันจันทร์ที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2559

ระบบการปกครองประเทศกัมพูชา

กัมพูชามีการปกครองระบอบประชาธิปไตยโดยมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขภายใต้รัฐธรรมนูญพระมหากษัตริย์องค์ปัจจุบันคือพระบาทสมเด็จพระบรมนาถนโรดม สีหมุนี ขึ้นครองราชย์เมื่อวันที่14 ตุลาคม 2547และมีนายกรัฐมนตรีเป็นผู้นำประเทศคือ สมเด็จฮุน เซน โดยดำรงตำแหน่งวาระละ 5 ปี
พรรคการเมืองสำคัญมี3พรรคได้แก่ พรรคประชาชนกัมพูชา(Cambodian People’s Party: CPP) หัวหน้าพรรคคือสมเด็จเจีย ซิม รองหัวหน้าพรรคคือสมเด็จฮุน เซน พรรคฟุนซินเปค(National United Front for an Independent,Neutral,Peaceful and Cooperative Cambodia: FUNCINPEC) หัวหน้าพรรคคือ นายเชียว พุธ รัศมี และพรรคสม รังสี (Sam Rainsy Party: SRP) หัวหน้าพรรคคือนายสม รังสี ทั้งนี้พรรคประชาชนกัมพูชา(Cambodian People’s Party : CPP) สามารถจัดตั้งรัฐบาลได้พรรคเดียวทำให้สมเด็จฮุน เซน เป็นนายกรัฐมนตรีต่อไปอีกสมัย
รัฐสภาของกัมพูชาเป็นสภาคู่ประกอบด้วย สภาผู้แทนราษฎร (National Assembly) ซึ่งรัฐธรรมนูญกำหนดให้มีสมาชิกจำนวนไม่น้อยกว่า120คนมาจากการเลือกตั้งทั่วไปโดยทางตรงและลับมีวาระ5ปีปัจจุบันมีสมาชิก123 คน และมีสมเด็จกรมพระนโรดม รณฤทธิ์เป็นประธาน กับ วุฒิสภา (Senate) ที่มีสมาชิกมากสุดไม่เกินกึ่งหนึ่งของสภาผู้แทนราษฎรมาจากการแต่งตั้งโดยพระมหากษัตริย์2คนเลือกจากพรรคการเมืองที่ได้เสียงข้างมากโดยเปรียบเทียบ 2 คนและที่เหลือมาจากการเลือกตั้งโดยทางอ้อมมีวาระ6ปี (ปัจจุบันมีสมาชิก 61 คน ) และมีสมเด็จ เจีย ซิม เป็นประธาน
กัมพูชาแบ่งเขตการปกครองเป็น 20 จังหวัด ได้แก่ 
(1) กระแจะ (2) เกาะกง 
(3) กันดาล (4) กัมปงจาม 
(5) กัมปงชนัง (6) กัมปงทม 
(7) กัมปงสะปือ (8) กัมปอต 
(9) ตาแก้ว (10) รัตนคีรี 
(11) พระวิหาร (12) พระตะบอง
(13) โพธิสัต (14) บันเตียเมียนเจย 
(15) เปรเวง (16) มณฑลคีรี 
(17) สตึงเตรง (18) สวายเรียง 
(19) เสียมเรียบ (20) อุดรมีชัย 
แต่ละจังหวัดแบ่งการปกครองเป็นอำเภอ (Srok) และตำบล (Khum) นอกจากนี้ มีเขตการปกครองพิเศษเรียกว่า กรุง (Municipalities) อีก4กรุง ได้แก่ กรุงพนมเปญ กรุงสีหนุวิลล์ (กัมปงโสม) กรุงแกบ และกรุงไพลิน 
ทั้งนี้ แต่ละจังหวัดหรือกรุง จะมีผู้ว่าราชการจังหวัดหรือกรุงกับรองผู้ว่าราชการจังหวัดอีก7– 9คน ซึ่งได้รับการแต่งตั้งตามวาระของรัฐบาล(5ปี)เป็นผู้ปกครองโดยจังหวัดจะแบ่งเขตการปกครองย่อยเป็นอำเภอและตำบล( เรียกเป็น “สะร๊อก” และ “คุ้ม”)ขณะที่กรุงจะแบ่งเขตการปกครองย่อยเรียกเป็น “คาน” และ “สังกัด” ทั้งนี้หมู่บ้านหนึ่งๆซึ่งเป็นชุมชนย่อยลงไปจะเรียกว่า“ภูมิ”

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น